วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศจีน

 นโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศจีน


1. ลักษณะนโยบาย ไทยและจีนมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การดำเนินความสัมพันธ์มีทั้งด้านบวกคือการไม่ขัดแย้งกัน และด้านลบคือการขัดแย้งกัน ในอดีตเมื่อจีนยังไม่ได้ปกครองประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปด้วยดีมาตลอดแต่เมื่อจีนเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการปลุกระดมความเป็นชาตินิยมในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเป็นนักชาตินิยมได้ทัดทานบทบาทของชาวจีนในไทย ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจระหว่างประเทศทั้งสอง และขยายตัวมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ขณะเดียวกันได้เกิดการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ซึ่งไทยไม่ประสงค์ในสิทธิดังกล่าวจึงเกิดการต่อต้านชาวจีนมากขึ้น โดยเลือกมีสัมพันธภาพกับจีนไต้หวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการปรับท่าทีและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2. ปัจจัยภายใน การเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตความขัดแย้ง ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต การลดบทบาทในอินโดจีนของสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศอินโดจีนกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ และสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพบในอินโดจีน รวมทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยทั้งสิ้น เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็กจำเป็นต้องผูกพันกับประเทศใหญ่เพื่อเป็นเกราะ ป้องกันให้กับตนเอง ไทยจึงมีนโยบายคล้อยตามสหรัฐอเมริกา การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับจีนนั้นมาจากปัจจัยภายในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านผู้นำไทย ในอดีตช่วยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้สร้างทัศนคติด้านลบแก่ผู้นำไทย ด้วยการก่อความไม่สงบขึ้น เช่น จัดตั้งสมาคมอั้งยี่ และการไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทย รวมทั้งการครอบงำเศรษฐกิจของชาวจีน ทำใ
ไม่พอใจให้กับผู้นำไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ผู้นำไทยในช่วงปีพ.ศ. 2493-2513 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารมีนโยบายต่อต้านภัยจากคอมมิวนิสต์ ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยปฏิเสธความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น จนกระทั่งสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงไปผู้นำไทยจึงหันมาสถาปนาความสัพ มันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2518
2) ด้านการเมือง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา กลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศในฐานะรัฐบาลมีทั้งกลุ่ม พลเรือนและกลุ่มทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี พ.ศ. 2500-2513 รัฐบาลเผด็จการทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าวงรุนแรง หากผู้ใดคณะใดมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะถือว่าเป็นการกระทำผิด กฎหมาย แต่หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทัศนะต่าง ๆ ของประชาชนหลายกลุ่มต่อการเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้รับ การพิจารณามากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในอินโดจีนและลกเปลี่ยนไป
3) ด้านการทหาร แม้ว่าประเทศไทยจะทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง แต่หาเปรียบเทียบกับจีนแล้วไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ไม่ว่าด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพด้านการทหารไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก
4) ด้านเศรษฐกิจ ช่วงปี พ.ศ. 2500-2518 ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ผลจากการพัฒนาทำให้เขตเมืองมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ทั้งนี้โดยอาศัยทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและแรงงานคนจากเขตชนบท ทำให้รายได้และมาตรฐานการครองชีพในเขตเมืองสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของเขตชนบทต่ำแต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Grose Demestic Product : GDP) สูงขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนประชากรยากจนก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา นอกจากนี้ตัวเลขการขาดดุลของประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไทยต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อหามาด้วยราคาที่แพงมาก รวมทั้งเงินกู้ต่างประเทศยังเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเทศที่มี หนี้สินมากประเทศหนึ่ง
3. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของไทยกับจีน มีดังนี้
1) สถานการณ์ภูมิภาค นับตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากจีนให้ความช่วยเหลือเวียดนามเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกิดการรวมเป็นประเทศเวียดนามเดียวภายใต้ระบอบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในสงครามการเมืองในประเทศ เพื่อนบ้านของไทย โดยเกิดการปฏิวัติขึ้นในลาวและกัมพูชา หลังจากนั้นเวียดนามได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารเหนือ กัมพูชาและลาว การกระทำของเวียดนามดังกล่าวทำให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจีน และจากปัญหาความขัดแย้งภายในของกัมพูชาซึ่งจีนให้การสนับสนุนอยู่ได้เป็น ปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากไทยให้ที่พักพิงแก่ฝ่ายรัฐบาลผสมเขมรสามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจีนให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านด้วย ทำให้จีนและเวียดนามขัดแย้งกันจนเกิดการปะทะกันด้วยกำลัง จากบทบาทของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย ด้วยการสนับสนุนการขยายอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้นำไทย ต่อมาจีนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ ไปในทางต่อต้านกับภัยที่คุกคามไทย ความขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนได้ลดลงถึงขั้นร่วมมือกันต่อต้านเวียดนาม
2) สถานการณ์โลก หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2512 ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นพันธมิตรกัน เพื่อคานอำนาจและต่อต้านการขยายอิทธิพลสิทธิครองความเป็นเจ้าของสหภาพ โซเวียตที่ให้การสนับสนุนเวียดนาม สำหรับประเทศไทยก็ได้ปรับท่าทีโดยหันมาเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกัน ในปี พ.ศ. 2518
2. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
1) ด้านการเมือง นับตั้งแต่จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยซึ่งมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองมีความตึงเครียด เนื่องจากปัญหาด้านอุดมการณ์และความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์ในภูมิภาคและโลกเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยและจีนจึงปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518 สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สัมพันธภาพอันดีได้สะดุดลงชั่วขณะเมื่อเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนากรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ต่อมาสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำการรัฐประหารโดยมีพลเอกเกรียง ศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ แม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการปกครองแตกต่างกันก็ตาม และนับแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด มีการเยี่ยมเยือนกันระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศจีนหลายครั้งซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของ ประเทศทั้งสอง
2) ด้านเศรษฐกิจ จากความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยและจีนมีผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสอง เช่น การทำความตกลงทางการค้า การลงทุนร่วมกัน การซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน เป็นต้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492-2514 นั้น เป็นระยะที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะไทยได้กระทำรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2502 คือ การปฏิเสธการค้ากับจีน ห้ามการติดต่อค้าขายตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 53 ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการเมือง จึงได้มีการติดต่อทางการค้า การค้าเสรีระหว่างเอกชนไทยกับรัฐบาลขึ้นได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศขยายตัวขึ้นมากทั้ง ๆ ที่จีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองให้มากที่สุด การเปลี่ยนเปลี่ยนทางการพัฒนาประเทศของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยการประกาศนโยบาย 4 ทันสมัย ซึ่งได้แก่ เร่งรัดความทันสมัยด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การทหาร และเทคโนโลยี ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ไทยพอสมควร เพราะเปิดโอกาสให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีระบบการบริหารแบบทุนนิยมผสมกับสังคมนิยมกลุ่มเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ได้แก่กลุ่มเจียไต๋ ซึ่งลงทุนด้านโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ที่เมืองเซิงเจิ้น ซานโถว (ซัวเถา) ซิหลิน เหลี่ยวหนิง เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นที่ลงทุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตพรม โรงงานปุ๋ย โรงงานสร้างเรือยอร์ช สนามกอล์ฟ รถจักรยายนต์ กระจก และน้ำดื่ม เป็นต้น นอกจากนั้นได้มีการตกลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สร้างข้อตกลงทางการค้า ขายสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการส่งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคไปช่วยเหลือกัน ยุติข้อกีดกันทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ดีอย่างสูงสุด แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับจีนก็ตาม
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนนั้นมีมานานแล้วก่อนการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการฑูตในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความตึงเครียดระหว่างกัน โดยมีการเยี่ยมเยือนจีนของคณะต่าง ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คณะบาสเกตบอล คณะผู้แทนกรรมกรไทย คณะผู้แทนศิลปินไทย สมาคมพุทธศาสนา คณะสงฆ์ รวมทั้งคณะนักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น จากเหตุการณ์ด้านวัฒนธรรมและวิชาการ อันได้แก่ การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนผู้ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และงานด้านวิชาการ เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนมีความร่วมมือกันย่างแน่นแฟ้น จนถึงปัจจุบันนี้


  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับมิตรภาพไทย-จีน
มิตรภาพไทย-จีนจะดีอย่างทุกวันนี้ไม่ได้เลย ถ้ามิได้รับการส่งเสริมจากพระบรมวงศานุวงศ์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพฯ
พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จเยือนจีนบ่อยๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจีนครั้งหนึ่งอย่างเป็นทางการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2000 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ละพระองค์เสด็จเยือนจีนมาแล้วหลายครั้ง
สำหรับสมเด็จพระเทพฯ นั้น ทรงมีคุณูปการพิเศษสำหรับมิตรภาพไทย-จีน พระองค์เสด็จเยือนจีนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12-20 พฤษภาคม 1981 ในครั้งนั้นนอกจากมหานครปักกิ่ง พระองค์ได้เสด็จเยือนจีนตะวันตกถึง 3 แห่ง คือ เฉิงตู ซีอัน และคุนหมิง ในช่วง 29 ปีที่ผ่านมา พระองค์เสด็จเยือนจีนแล้ว 31 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนปีนี้เอง พระองค์เสด็จมาเปิดโรงเรียนพระราชทานที่เมืองเหมียนหยาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจอื่นๆ ในจีน พระองค์ได้เสด็จเยือนจีนแล้วครบทั้ง 4 มหานคร 23 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง พระองค์ได้รับการยกย่องจากสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีนว่าทรงเป็น ทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-จีน” (2004) และทรงได้รับรางวัล มิตรภาพนานาชาติ” 10 อันดับแรกในโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (2009)
การเสด็จเยือนจีนของสมเด็จพระเทพฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อมวลชนไทย ในโอกาสนั้น คนไทยผู้ชมโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจทั้ง 6 ช่อง จะมีโอกาส (เหมือนกับได้ตามเสด็จ) ได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมและความงามธรรมชาติของจีนอย่างทั่วถึง พระองค์ทรงอุตสาหะศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน เป็นแรงดลใจให้คนอื่นก็สนใจเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนด้วย หนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องการเสด็จเยือนจีน (อย่างน้อย 9 เรื่อง ไม่รวมงานแปลจากภาษาจีน) ของพระองค์ก็ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในหมู่คนไทย
เข้าใจว่าคนจีนและคนที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะไม่เข้าใจหรือไม่ซาบซึ้งถึงผลงานอันใหญ่หลวงของสมเด็จพระเทพฯ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมมิตรภาพไทย-จีน สิ่งที่พระองค์ทรงทำอย่างได้ผลเหนือบุคคลอื่นๆ คือ
(1) พระองค์ทรงมีความวิริยะอุตสาหะ ใฝ่รู้ใฝ่เห็น ทรงจดบันทึกสิ่งที่ได้ฟังได้เห็นตามสถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไปเยือนอย่างละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลถ่ายทอดให้คนไทยทราบในโอกาสต่างๆ
(2) พระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า คนไทยสนใจติดตามชื่นชมในพระราชกรณียกิจของพระองค์อยู่ตลอดเวลา
(3) คนจีนเป็นเจ้าภาพที่ดี ถวายการต้อนรับสมเด็จพระเทพฯ อย่างดีเยี่ยมตลอด คนไทยก็เป็นคนรู้คุณคน มิตรจิตที่คนจีนถวายต่อสมเด็จพระเทพฯ ที่เรารักและเทิดทูนนั้น ย่อมได้รับการตอบแทนเป็นทวีคูณ
(4) การรายงานข่าวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ ในการเสด็จเยือนจีนทุกครั้งย่อมมีแต่แง่ดี น่าชื่นชม ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อการกระชับมิตรภาพไทย-จีนยิ่งๆ ขึ้น
(5) โทรทัศน์ของไทยทุกช่อง (6 ช่อง) มีเครือข่ายแพร่ข่าวทั่วประเทศ เสนอข่าวราชสำนักในรูปแบบ รวมการเฉพาะกิจ” (คือ ทุกช่องต้องเสนอข่าวนี้ในเวลา 20.00 น.) โดยการเสนอข่าวเกี่ยวกับการเสด็จเยือนจีนของสมเด็จพระเทพฯ อย่างละเอียด เชื่อว่าประชาชนคนไทยเกือบทั้งหมด รู้จักจีนฯ เข้าใจจีน และเป็นมิตรกับจีนตามรอยพระบาทของสมเด็จพระเทพฯ
ประเทศอื่นไม่มีโชคดีเท่ากับประเทศไทย-จีนที่มีปรากฏการณ์พิเศษเช่นนี้ การที่คนจีนได้ลงคะแนนเสียงทางอินเตอร์เนตยกย่องให้พระองค์ทรงได้รับรางวัล มิตรภาพนานาชาติของจีนในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ด้วยคะแนนมากกว่า 2 ล้านเสียง ซึ่งนับเป็นอันดับที่ 2 ของจำนวน 10 คนนั้น คนไทยย่อมยินดีปรีดาและภูมิใจในพระอัจฉริยะภาพของพระองค์แต่ข้าพเจ้าคิดว่าคนจีนโดยทั่วไปคงไม่มีโอกาสเหมือนคนไทยที่ได้ชม โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจการเยือนจีนของพระองค์ มิเช่นนั้น คนจีน 56 ล้านคนที่ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกมิตรที่ดีที่สุดของจีนในรอบ 100 ปีนั้น คงจะลงคะแนนให้สมเด็จพระเทพฯ มากกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่า สำหรับคนไทยที่ติดตามพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ ในการส่งเสริมมิตรภาพไทย-จีน คงจะลงคะแนนเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีใครอื่นอีกแล้วในประวัติศาสตร์ชาติไทยในรอบ 700 ปีที่ผ่านมา ที่มีผลงานทัดเทียมกับสมเด็จพระเทพฯ
ภารกิจสำคัญที่ไทย-จีนควรร่วมมือกันสานต่อ
ในหัวข้อนี้ เรามาช่วยกันมองอนาคต ดูว่าในความสัมพันธ์ไทยจีนนั้น มีอะไรบ้างที่ทำแล้วจะช่วยเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศของเรา
คนจีนที่อยู่ในที่นี้ส่วนมากคงจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่นครเฉิงตู และสนใจเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน เชื่อว่าท่านคงจะมีความรู้เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีนในระดับหนึ่ง และอาจจะอยากเห็นความสัมพันธ์ไทย-จีนให้ดียิ่งๆขึ้น ข้าพเจ้าเป็นคนไทย เหมือนเพื่อนร่วมชาติอีกหลายคนที่อยู่ในที่นี้ มีภูมิหลังและข้อมูลแตกต่างจากคนจีน เราอาจจะมีเป้าหมายเหมือนกัน แต่ก็อาจจะมองเห็นปัญหาหรือความปรารถนาอะไรที่แตกต่างกัน โดยความเห็นส่วนตัว ข้าพเจ้าอยากเห็นเรามาร่วมมือกันคิดและทำสิ่งต่อไปนี้ในช่วง 3 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งได้แก่
(1) พยายามหาทางเผยแพร่วัฒนธรรมให้สมดุลกันมากกว่าที่เป็นอยู่ ข้อตกลงที่มีอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีมากเพียงพอแล้ว ปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติ การเผยแพร่วัฒนธรรมจีนไปสู่ประเทศไทยนั้นได้ทำกันอย่างคึกคักอย่างต่อเนื่อง เราได้อานิสงส์จากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพฯ มีทางหรือไม่ที่จะเพิ่มช่องทางเผยแพร่ข่าวสารที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงปฏิบัติ ไปสู่คนจีนในระดับต่างๆ จนถึงระดับรากหญ้าให้กว้างขวางมากขึ้น มีทางหรือไม่ที่จะหาผู้นำของจีนระดับชาติ ระดับมหานคร, มณฑล, เขตปกครองตนเอง ทำหน้าที่เป็นสื่อเหมือนสมเด็จพระเทพฯ ในการแนะนำให้คนจีนทุกระดับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนตะวันตก) รู้จักไทยมากขึ้น ได้รับความสุขจากการสัมผัสวัฒนธรรมไทยมากขึ้น เอาวิทยุหรือโทรทัศน์ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อการนี้อย่างไร
(2) เรื่องความร่วมมือไทย-จีนในด้านการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ก็มีปัญหาทำนองเดียวกัน ปัจจุบันจีนช่วยไทยในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยคิดเป็นมูลค่าคงไม่ต่ำกว่าปีละ 150 ล้านบาท ให้ทุนครูไทยที่สอนภาษาจีนมาอบรม-ดูงานในจีน จัดทำตำราและสื่อการสอนภาษาจีนให้ จัดส่งครูอาสาสมัครชาวจีนไปสอนภาษาจีนในไทย ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 คน3 แต่การเรียนการสอนภาษาจีนในไทย (ซึ่งปัจจุบันมีคนเรียนอยู่ทั้งในระบบและนอกระบบไม่ต่ำกว่า 500,000 คน) ยังไม่ค่อยได้ผล ควรหาทางปรับปรุงรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือ นอกจากนั้น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนที่ฝ่ายไทยช่วยเหลือจีน ในด้านการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในจีนยังมีน้อยมาก ยิ่งกว่านั้น ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนจีนตะวันตก (นอกจากมณฑลหยุนหนานและเขตปกครองตนเองกว่างซี) ให้มากขึ้น
(3) ความร่วมมือไทย-จีนในด้านการทำวิจัยยังมีน้อย สถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยของไทยและจีน ควรหาคู่ทำวิจัย (เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยเฉิงตู) ในหัวข้อที่ไทย-จีนมีประโยชน์ร่วมกัน (เช่น เรื่องการลงทุนในไทยของจีนตะวันตกแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไทยในมณฑลซื่อชวน เป็นต้น) พยายามหาเรื่องทำร่วมกันในด้านความมั่นคงในความหมายอย่างกว้าง และความร่วมมือกันด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้วย
(4) มหาวิทยาลัยต่างๆ ในไทย และในจีนตะวันตก ควรทำความตกลงแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญกันให้มากขึ้น เนื่องจากยังมีกำแพงด้านภาษา ในขั้นแรก ควรแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ ให้คนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของประเทศหนึ่งไปสอน หรือบรรยายพิเศษ หรือเป็นแหล่งข้อมูลในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญในอีกประเทศหนึ่ง ความรู้ที่คนไทยอยากได้เกี่ยวกับจีนตะวันตก น่าจะมาจากชาวพื้นเมืองของจีนตะวันตกโดยตรง

(5) ความร่วมมือไทย-จีนตะวันตกในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารควรมีมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนควรสำรวจดูว่า ตนมีกิจกรรมอะไรบ้างที่อาจร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ (เช่น มีกลไกในการปรึกษาหารือ หรือมีคณะกรรมการ เป็นต้น) ตามความเหมาะสม เป็นต้นว่า องค์กรบริหารงานของเขื่อนพลังน้ำไฟฟ้าตอนเหนือของแม่น้ำโขงในจีน ในหยุนหนานควรทำข้อตกลงกับกรมชลประทานของไทยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำ และการเก็บปล่อยน้ำที่เขื่อนต่างๆ ในมณฑลหยุนหนาน ฝ่ายจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายของไทย ก็ควรตกลงกับองค์กรบริหารของจีนที่เหมาะสมเกี่ยวกับขบวนการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรข้ามชาติอื่นๆ ตามชายแดนไทย-พม่า และไทย-ลาวแจ้งให้ฝ่ายจีนทราบเป็นระยะๆ เป็นต้น
www.suksrifa.blogspot.com

2 ความคิดเห็น: